รวมสารก่อมะเร็ง ที่มักพบได้ในบุหรี่ไฟฟ้า

อย่างที่ทราบกันดีว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นจะทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมา เพราะในบุหรี่ไฟฟ้าประกอบไปด้วยสารที่ก่อมะเร็งนั่นเอง และบทความนี้เราจะมาพูดถึงภัยอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้ากัน ว่าในบุหรี่ไฟฟ้านั้นประกอบไปด้วยสารก่อมะเร็งอะไรบ้าง และถ้าหากยังสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่แม้จะเป็นมะเร็งแล้วจะเกิดโทษอะไรต่อร่างกาย มาหาคำตอบทั้งหมดทั้งมวลนี้ได้ในบทความนี้เลย

รวมสารก่อมะเร็ง ที่มักพบได้ในบุหรี่ไฟฟ้า

  • สารก่อมะเร็งในบุหรี่ไฟฟ้า : สารก่อมะเร็งกลุ่ม Tobacco-Specific Nitrosamines (TSNAs) ที่พบน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป
  • สารก่อมะเร็งในบุหรี่ไฟฟ้า : สารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ volatile organic compounds เช่น เบนซีน (benzene), โทลูอีน (toluene) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
  • สารก่อมะเร็งในบุหรี่ไฟฟ้า : สารประกอบคาร์บอนิล หรือ carbonyl compounds เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ และ อะเซทัลดีไฮด์ ซึ่งพบในระดับที่สูงมากในบุหรี่แบบ tank-style with high voltage battery
  • สารก่อมะเร็งในบุหรี่ไฟฟ้า : สารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) และ พอลิไซคลิกแอโรแมติกไฮโดรคาร์บอน (polycyclic aromatic hydrocarbons)

หากยังสูบบุหรี่ไฟฟ้าอยู่แม้จะเป็นมะเร็งแล้ว จะเกิดโทษอะไรต่อร่างกายบ้าง ?

  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังการดมยาสลบผ่าตัดรักษาโรคมะเร็ง
  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทำให้ลดประสิทธิภาพจากการฉายรังสีรักษาโรคมะเร็ง
  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทำให้ลดประสิทธิภาพของยาเคมีบาบัด
  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทำให้เพิ่มผลข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด
  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทำให้เซลล์มะเร็งและโรคลุกลามมากขึ้น
  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทำให้เพิ่มโอกาสการเกิดโรคมะเร็งปฐมภูมิแห่งที่สอง ยกตัวอย่าง เช่น ในผู้ป่วยรายเดียวกันตอนแรกเป็นมะเร็งปอดเป็นมะเร็งปฐมภูมิแห่งแรก แล้วต่อมาเป็นมะเร็งหลอดอาหารปฐมภูมิแห่งที่สอง
  • การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทำให้ลดประสิทธิภาพของยาที่ใช้บรรเทาอาการที่เกิดจากโรคมะเร็ง เช่น ยาแก้อาเจียน

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนหวังว่าข้อมูลในบทความนี้จะทำให้คุณตัดสินใจลด ละ เลิกบุหรี่ไฟฟ้าได้ไม่มากก็น้อยนะ และหากคุณไม่รู้จะลด ละ เลิกบุหรี่ไฟฟ้านี้ไปเพื่อใคร ก็ขอให้ลด ละ เลิกบุหรี่ไฟฟ้านี้เพื่อตัวคุณเองแล้วกันนะ